เป้าหมายหลัก

ปีการศึกษา 2/2557 Topic: " i know i understand "ฉันรู้ ฉันเข้าใจ"
เป้าหมาย(Understanding Goal) :

ความรู้ : เข้าใจและสามารถอธิบายกระบวนการจัดการชุดข้อมูลต่างๆและวิธีการเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง
ทักษะ : การแสวงข้อมูล / การคิด/จัดการข้อมูล / การนำเสนอ
คุณลักษณะ : มีเป้าหมายในการเรียนรู้ / แรงบันดาลใจ / เอื้อเฟื้อข้อมูล

week2

เป้าหมายความเข้าใจรายสัปดาห์ : เข้าใจและสามารถอธิบายความหมายของทัศนศิลป์ที่สะท้อนคุณค่าของวัฒนธรรมและความแตกต่างของศิลปะในแขนงต่างๆได้

Week
input
Process
Output
Outcome




       2
โจทย์
- ทัศนศิลป์ที่สะท้อนคุณค่าของวัฒนธรรม
ดนตรี
- นาฏศิลป์

Key  Questions
- นักเรียนคิดว่าแต่ละภาพที่ได้ดู ศิลปินต้องการสื่อความหมายอะไร
- หัวใจสำคัญของงานศิลปะที่มองผ่านรูปแบบทัศนศิลป์ คืออะไร
- นักเรียนจะสามารถถ่ายทอดความหมายของคำเหล่านี้ ในรูปแบบงานศิลป์ได้อย่างไร
เครื่องมือคิด
Show and Share
- นำเสนอความคิดเห็น เกี่ยวกับการใช้ทัศนศิลป์ช่วยสะท้อนคุณค่าของวัฒนธรรมและความแตกต่างของศิลปะในแขนงต่างๆ


ผู้ร่วมสร้างการเรียนรู้
นักเรียน/ครู
สื่อและแหล่งเรียนรู้
- ห้องสมุด
- internet
บรรยากาศในห้องเรียน
- คลิปการแสดง หุ่นละครเล็ก โจหลุยส์
- ภาพวาดศิลปะ
- ฉลากคำสื่อความหมาย อาทิเช่น  ชีวิต  ความงาม  ความจริง  ความรัก ฯลฯ
จันทร์
ชง : 
- ครูเปิดคลิปการแสดง หุ่นละครเล็ก โจหลุยส์” ให้นักเรียนดู ซึ่งเกี่ยวกับการถ่ายความงามด้านนาฏศิลป์ผ่านหุ่นกระบอก
ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิดจากการแสดงที่ได้ดูนักเรียนรู้สึกและสังเกตเห็นอะไรบ้าง?”
เชื่อม : 
- นักเรียนแต่ละคนนำเสนอความคิดเห็น
- ครูให้นักเรียนดูภาพวาดศิลปะต่างๆ 
ชง : 
- ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด นักเรียนคิดว่าแต่ละภาพที่ได้ดู ศิลปินต้องการสื่อความหมายอะไร?”
เชื่อม : 
- นักเรียนแต่ละคนนำเสนอความคิดเห็นและเขียนแสดงทัศนะคติของตนเองที่มีต่อศิลปินในสมุดบันทึกเล่มเล็ก
พุธ
เชื่อม : 
- นักเรียนจับฉลากแบ่งกลุ่มๆละเท่าๆกันและตัวแทนกลุ่มจับฉลากเลือกหัวข้อ ดังนี้   ทัศนศิลป์ ,  ดนตรี  ,นาฏศิลป์
 นักเรียนแต่ละกลุ่มสืบค้นข้อมูลในหัวข้อที่ได้รับ และวางแผนการแสดงเพื่อใช้นำเสนอข้อมูล
นักเรียนแต่ละกลุ่มร่วมนำเสนอของมูล
 - ครูและนักเรียนทุกกลุ่มอภิปรายร่วมกันเกี่ยวกับสิ่งที่ได้เรียนรู้จากการนำเสนอ
พฤหัสบดี
ชง : 
- ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด หัวใจสำคัญของงานศิลปะที่มองผ่านรูปแบบทัศนศิลป์ คืออะไร?”
เชื่อม 
- นักเรียนแต่ละคนร่วมนำเสนอความคิดเห็น
ครูให้นักเรียนแต่ละคนจับฉลากเลือกคำเพื่อสื่อความหมาย อาทิเช่น  ชีวิต  ความงาม  ความจริง  ความรัก ฯลฯ
ชง 
- ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด นักเรียนจะสามารถถ่ายทอดความหมายของคำเหล่านี้ ในรูปแบบงานศิลป์ได้อย่างไร?” (งานปั้น  , งานวาด ดนตรี ,นาฏศิลป์)
เชื่อม  
- นักเรียนแต่ละคนออกแบบงานศิลป์ของตนเอง
ศุกร์
ใช้ :  
- นักเรียนแต่ละคนสร้างงานศิลป์ของตนเอง พร้อมนำเสนอ
นักเรียนทำใบงาน ความเข้าใจทัศนศิลป์ที่สะท้อนคุณค่าของวัฒนธรรม ดนตรี และ นาฏศิลป์
เชื่อม :
- นักเรียนอภิปรายร่วมกันเกี่ยวกับใบงานและความเชื่อมโยงสิ่งที่ได้เรียนรู้เพื่อสร้างความเข้าใจ และสรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
ภาระงาน
วิเคราะห์คลิปการแสดง หุ่นละครเล็ก โจหลุยส์
จับฉลากและสืบค้นข้อมูลพร้อมนำเสนอ ทัศนศิลป์ , ดนตรี  ,นาฏศิลป์
จับฉลากเลือกคำวิเคราะห์ความหมายเพื่อสร้างงานศิลป์ อาทิเช่น  ชีวิต  ความงาม  ความจริง  ความรัก ฯลฯ
นำเสนองานศิลป์และทำใบงานเกี่ยวกับความเข้าใจทัศนศิลป์ที่สะท้อนคุณค่าของวัฒนธรรม ดนตรี และ นาฏศิลป์

ชิ้นงาน
การแสดงถ่ายทอด ทัศนศิลป์ ,  ดนตรี  ,นาฏศิลป์
งานศิลป์ สื่อความหมายของคำ
สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
ความรู้
เข้าใจและสามารถอธิบายความหมายของทัศนศิลป์ที่สะท้อนคุณค่าของวัฒนธรรมและความแตกต่างของศิลปะในแขนงต่างๆได้
ทักษะ
ทักษะชีวิต
- การวางแผนในการทำงานกลุ่ม
สามารถเรียนรู้และเชื่อมโยงเรื่องที่ศึกษากับชีวิตประจำวันของตนเองได้
ทักษะการจัดการข้อมูล
 การคิดวิเคราะห์และจัดการข้อมูลที่ใช้ในการนำเสนอเกี่ยวกับความหมายของทัศนศิลป์ที่สะท้อนคุณค่าของวัฒนธรรมและความแตกต่างของศิลปะในแขนงต่างๆ
 ทักษะการอยู่ร่วมกัน
- นักเรียนแต่ละคน ได้ร่วมแสดงความคิดเห็น และรับฟังทัศนะคติของทุกๆคนอย่างมีเหตุผล
- กระบวนการเรียนรู้ร่วมกันเกี่ยวกับการสืบค้นข้อมูลเพื่อใช้ในการร่วมเรียนรู้กับผู้อื่น
ทักษะความคิดสร้างสรรค์
- การนำเสนอสิ่งที่ได้สืบค้นด้าน ทัศนศิลป์ ,  ดนตรี  ,นาฏศิลป์ในรูปแบบการแสดง
การสื่อความหมายของคำผ่านงานศิลป์ที่ตนเองชื่นชอบ
คุณลักษณะ
- การเคารพและยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
สรุปสิ่งที่ตนเองได้เรียนรู้ได้อย่างสร้างสรรค์
 มีวินัยและความรับผิดชอบต่อสิ่งที่ได้รับมอบหมาย
มีความมุ่งมั่นในการทำงาน
                                                                   
ประมวลภาพกิจกรรมการเรียนรู้ และชิ้นงาน

- ศิลปะงานวาด "ถ่ายทอดมุมมอง ด้านศิลปะ ของแต่ละคน"
  
- จับฉลากแบ่งกลุ่ม เพื่อศึกษาข้อมูล ในหัวข้อ ทํศนศิลป์  ศิลปะการวาด  นาฏศิลป์  และ ดนตรี

- ตัวอย่างสรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์











1 ความคิดเห็น:

  1. บันทึกหลังการเรียนรู้
    ในสัปดาห์นี้เป็นกิจกรรมการเรียนรู้เกี่ยวกับการเปิดมุมมองศิลปะโดยใช้มุมมองแบบทัศนศิลป์ ซึ่งเริ่มต้นกิจกรรม โดยคุณครูได้เปิด คลิป หุ่นละครเล็ก โจหลุยส์” ให้นักเรียนดู ซึ่งเกี่ยวกับการถ่ายทอดความงามด้านนาฏศิลป์ผ่านหุ่นกระบอก แล้วก็ได้นำมาพูดคุยเกี่ยวกับสิ่งที่ได้ดู โดยสะท้อนในมุมเกี่ยวกับการประประยุกต์ใช้ศิลปะในแขนงต่างๆ มาสร้างงานในรูปแบบใหม่ หลังจากนั้น คุณครูได้นำภาพการวาดรูปแบบต่างๆให้พี่ๆแต่ละคน คนละ 1 ภาพโดยให้แต่ละคนได้แสดงทัศนะคติต่อภาพที่ได้ และใช้คำถามกระตุ้นการคิดต่ออีกว่า “พี่ๆคิดว่าศิลปิน ที่วาดภาพแต่ละภาพ ต้องการถ่ายทอดเกี่ยวกับอะไร?” ซึ่งแต่ละคนก็ให้เหตุผลที่หลากหลาย เช่น พี่โอ๊ต (ได้ภาพเป็นตึกสูงที่มีทางเดินมองลึกเข้าไปในภาพ และมีกุญแจแขวนอยู่ด้านหน้า ชัดเจน) โดยให้ความคิดเห็นต่อภาพนี้ว่า “เหมือนเป็นการหาคำตอบครับ เพราะว่ากุญแจก็เหมือนกับว่าต้องไขปริศนา อะไรบ้างอย่าง และถ้ามองดูดีๆ เข้าวาดกุญแจเป็นรูปหน้าคน สามคนครับ ” ซึ่งเพื่อนก็ให้ความสนใจและร่วมมองสังเกตภาพด้วยค่ะ (บรรยากาศคือถ้าอยู่ในช่วงของการนำเสนอภาพของใครก็จะให้เพื่อนๆร่วมสังเกต) จากนั้นคุณครูก็ให้พี่ๆแต่ละคนแสดงทัศนะคติของตนเองในโจทย์คำถามที่ว่า “ศิลปะในมุมมองของตนเองเป็นอย่างไร” ในรูปแบบของภาพวาดค่ะ ภาพวาดที่เกิดขึ้น บ้างก็ถ่ายทอดชีวิต บ้างก็เป็นภาพวาดที่ต้องจิตนาการหาคำตอบด้วยตนเอง เช่นใบไม้ที่ลอยอยู่บนพื้นน้ำ หลังจากนั้นคุณครูก็ได้พาพี่ๆ ม.3 จับฉลากแบ่งกลุ่ม และเลือกคำที่ต้องศึกษา เพิ่มความเข้าใจ อาทิเช่น ศิลปะด้านดนตรี นาฏศิลป์ ศิลปะด้านการวาด โดยแต่ละกลุ่มก็ได้สืบค้นข้อมูล และนำมาร่วมพูดคุยกัน ค่ะ หลังจากนั้นพี่ๆ ม.3ก็ได้สรุปควาเข้าใจเกี่ยวกับมุมมองด้านทัศนศิลป์โดย สร้างชิ้นงาน เพื่อถ่ายทอดความหมายของคำว่า ความงาม ความจริง และชีวิต โดยงานส่วนใหญ่ที่พี่ๆเลือกทำก็จะเป็นงานวาด บนกระดาษ และบนพื้นผ้า และปิดท้ายกิจกรรมในสัปดาห์นี้โดยพี่ๆแต่ละได้เขียน บนความสั้นๆ เกี่ยวกับความผสมผสาน ของ ความงาม ความจริง และชีวิต และสรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์

    ตอบลบ