เป้าหมายหลัก

ปีการศึกษา 2/2557 Topic: " i know i understand "ฉันรู้ ฉันเข้าใจ"
เป้าหมาย(Understanding Goal) :

ความรู้ : เข้าใจและสามารถอธิบายกระบวนการจัดการชุดข้อมูลต่างๆและวิธีการเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง
ทักษะ : การแสวงข้อมูล / การคิด/จัดการข้อมูล / การนำเสนอ
คุณลักษณะ : มีเป้าหมายในการเรียนรู้ / แรงบันดาลใจ / เอื้อเฟื้อข้อมูล

วันพุธที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2557

Mind Mapping (เนื้อหา/ครู)




ภูมิหลังของปัญหา เนื่องจากในปัจจุบันมีรูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนอย่างหลากหลายรูปแบบ  ซึ่งในแต่ละรูปแบบจะมีข้อดี และ ข้อด้อยแตกต่างกันไป บ้างก็สามารถทำให้ผู้เรียนเข้าใจได้ทุกเนื้อหาสาระแต่ยังไม่สามารถ นำไปปรับใช้ได้จริงในชีวิตประจำวัน โดยส่วนใหญ่เป็นการเรียนรู้โดยการท่องจำ เพียงเพื่อนำไปใช้สำหรับการสอบแข่งขันเท่านั้น ซึ่งส่งผลโดยตรงต่อคุณภาพด้านความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดระบบข้อมูลของผู้เรียนเอง อาทิเช่น การวิเคราะห์และให้เหตุผลต่อข้อมูลหรือการอภิปรายร่วมกับผู้อื่น ดังนั้นเพื่อให้ผู้เรียนได้มีรูปแบบการเรียนการสอนที่หลากหลายวิธีเพิ่มมากขึ้น เกิดทักษะและคุณลักษณะของผู้จัดกระทำชุดความรู้ได้ด้วยตนเอง   จึงถือเป็นโอกาสดีที่จะได้จัดกระบวนการเรียนรู้แบบ เปิดหนังสือ (Open book ) ควบคู่กับการเรียนรู้แบบบูรณาการ (PBL)  เพื่อความเข้าใจในกิจกรรมที่ได้เรียนรู้ และการนำไปปรับใช้ได้โดยแท้จริง


เป้าหมายความเข้าใจ (Understanding Goals)  
ความรู้ เข้าใจและสามารถอธิบายกระบวนการจัดการชุดข้อมูลต่างๆและวิธีการเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง
ทักษะ การแสวงข้อมูล /การคิด / จัดการข้อมูล การนำเสนอ 
คุณลักษณะ : มีเป้าหมายในการเรียนรู้ / แรงบันดาลใจ เอื้อเฟื้อข้อมูล 

คำถามหลัก (ฺBig question)  : -  ทำไมจึงต้องมีการจัดการความรู้ทั้งชุด ?
                                                 เราจะจัดการชุดข้อมูลได้อย่างไร ?
โมเดลการจัดกระบวนการเรียนรู้

   ตารางวิเคราะห์วิเคราะห์มาตรฐานการเรียนรู้  

สาระการเรียนรู้
วิเคราะห์มาตรฐานการเรียนรู้รายวิชากับตัวชี้วัด
1.2
2.1
2.2
5.1
8.1
วิทยาศาสตร์
- การถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรม
- ระบบนิเวศน์ท้องถิ่น
-โรคทางพันธุกรรม
- หน่วยพันธุกรรม(DNA,RNA) - ความหลากหลายทางชีวภาพ
- สังเกตและอธิบายลักษณะของโครโมโซม
ที่มีหน่วยพันธุกรรม  หรือยีนในนิวเคลียส
(ว1.2 ม.3/1)
 - อธิบายความสำคัญของสารพันธุกรรมหรือดีเอ็นเอและกระบวนการถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรม(ว1.2 ม.3/2)
- อภิปรายโรคทางพันธุกรรม ที่เกิดจากความผิดปกติของยีนและโครโมโซมและนำความรู้ไปใช้ประโยชน์
(ว1.2 ม.3/3)
- สำรวจและอธิบายความหลากหลาย
ทางชีวภาพ ในท้องถิ่น
ที่ทำให้สิ่งมีชีวิต ดำรงชีวิตอยู่ได้อย่างสมดุล (ว1.2 ม.3/4)
- อธิบายผลของความ
- สำรวจระบบนิเวศต่างๆ ในท้องถิ่นและอธิบาความสัมพันธ์ขององค์ประกอบภายในระบบนิเวศ  (ว2.1 ม.3/1)
- อธิบาย วัฏจักรน้ำ
วัฏจักรคาร์บอน และความสำคัญที่มีต่อระบบนิเวศ (ว2.1 ม.3/2)
- อธิบายปัจจัยที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงขนาดของประชากร  ในระบบนิเวศ
(ว2.1 ม.3/3)
- วิเคราะห์และอธิบายความสัมพันธ์ของการถ่ายทอดพลังงานของสิ่งมีชีวิตในรูปของโซ่อาหารและสายใยอาหาร
(ว2.1 ม.3/4)
- วิเคราะห์สภาพปัญหาสิ่งแวดล้อม  ทรัพยากร ธรรมชาติในท้องถิ่น และเสนอแนวทางในการ แก้ไขปัญหา (ว2.2 ม.3/1)
- วิเคราะห์และอธิบายการใช้ทรัพยากรธรรมชาติ  ตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง(ว2.2 ม.3/2)
- อภิปรายปัญหาสิ่งแวดล้อม และเสนอแนะแนวทางการแก้ปัญหา
(ว2.2 ม.3/3)
- อภิปราย    และมีส่วนร่วมในการดูแลและอนุรักษ์    สิ่งแวดล้อม ในท้องถิ่นอย่างยั่งยืน (ว2.2 ม.3/4)
- อธิบายแนวทางการรักษาสมดุลของระบบนิเวศ (ว2.2 ม.3/5)
- อภิปรายการใช้ทรัพยากร ธรรมชาติอย่างยั่งยืน
(ว2.2 ม.3/6)
- อธิบายงาน พลังงานจลน์ พลังงานศักย์โน้มถ่วง กฎการอนุรักษ์พลังงาน และความสัมพันธ์ระหว่างปริมาณเหล่านี้ รวมทั้งนำความรู้ไปใช้ประโยชน์ (ว5.1 ม.3/1)

- ตั้งคำถามที่กำหนดประเด็นหรือตัวแปร
ที่สำคัญในการสำรวจตรวจสอบ หรือศึกษาค้นคว้าเรื่องที่สนใจ  ได้อย่างครอบคลุ่ม และเชื่อถือได้(ว8.1 ม.3/1)
- สร้างสมมติฐาน ที่สามารถตรวจสอบได้และวางแผนการสำรวจตรวจสอบหลาย ๆ วิธี
(ว8.1 ม.3/2)
- เลือกเทคนิควิธีการสำรวจตรวจสอบ
ทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพที่ได้ผลเที่ยงตรงและปลอดภัยโดยใช้วัสดุและเครื่องมือที่เหมาะสม(ว8.1 ม.3/3)
- รวบรวมข้อมูลจัดกระทำข้อมูลเชิงปริมาณและคุณภาพ(ว8.1 ม.3/4)
- วิเคราะห์และประเมิน ความสอดคล้องของประจักษ์พยานกับข้อสรุป ทั้งที่สนับสนุนหรือขัดแย้งกับสมมติฐานและความผิดปกติของข้อมูลจากการสำรวจตรวจสอบ(ว8.1 ม.3/5)
- สร้างแบบจำลอง หรือรูปแบบ  ที่อธิบายผลหรือแสดงผลของการสำรวจตรวจสอบ
(ว8.1 ม.3/6)

เนื้อหา
วิเคราะห์มาตรฐานการเรียนรู้รายวิชากับตัวชี้วัด
1.2
8.1

หลากหลายทางชีวภาพที่มีต่อมนุษย์ สัตว์  พืช และสิ่งแวดล้อม (ว1.2 ม.3/5)

- สร้างคำถามที่นำไปสู่การสำรวจตรวจสอบ ในเรื่องที่เกี่ยวข้องและนำความรู้ที่ได้ไปใช้  ในสถานการณ์ใหม่ หรืออธิบายเกี่ยวกับแนวคิด กระบวนการและผลของโครงงานหรือชิ้นงานให้ผู้อื่นเข้าใจ(ว8.1 ม.3/7)
- อธิบายผลการสังเกตการสำรวจ ตรวจสอบ ค้นคว้าเพิ่มเติมจากแหล่งความรู้ต่าง ๆ   ให้ได้ข้อมูลที่เชื่อถือได้ และยอมรับการเปลี่ยนแปลงความรู้ที่ค้นพบ  เมื่อมีข้อมูลและประจักษ์พยานใหม่เพิ่มขึ้นหรือโต้แย้งจากเดิม (ว8.1 ม.3/8)
- จัดแสดงผลงาน เขียนรายงาน และ/หรืออธิบายเกี่ยวกับแนวคิด กระบวนการ และผลของโครงงานหรือชิ้นงานให้ผู้อื่นเข้าใจ(ว8.1 ม.3/9)
วิทยาศาสตร์
- กฎของนิวตัน (การเคลื่อนที่ในแนวต่างๆ)
- แรงลัพธ์
- แรงเสียดทาน
- แรงพยุง

4.1
4.2
5.1
8.1
 - อธิบายความเร่งและผลของแรงลัพธ์ที่ทำต่อวัตถุ
(ว4.1 ม.3/1)
- ทดลองและอธิบายแรงกิริยาและแรงปฏิกิริยา ระหว่างวัตถุ  และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์
(ว4.1 ม.3/2)
 - ทดลองและอธิบายแรงพยุงของของเหลวที่กระทำต่อวัตถุ (ว4.1 ม.3/3)
- ทดลองและอธิบายความแตกต่างระหว่างแรงเสียดทานสถิตกับแรง และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์
(ว4.2 ม.3/1)
 - ทดลองและวิเคราะห์โมเมนต์ของแรง และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์
 (ว4.2 ม.3/2)
 -  สังเกต และอธิบายการเคลื่อนที่ของวัตถุที่เป็น    แนวตรง และแนวโค้ง (ว4.2 ม.3/3)
- อธิบายงาน พลังงานจลน์ พลังงานศักย์โน้มถ่วง กฎการอนุรักษ์พลังงาน และความสัมพันธ์ระหว่างปริมาณเหล่านี้ รวมทั้งนำความรู้ไปใช้ประโยชน์ (ว5.1 ม.3/1)

- ตั้งคำถามที่กำหนดประเด็นหรือตัวแปรที่สำคัญในการสำรวจตรวจสอบ หรือศึกษาค้นคว้าเรื่องที่สนใจ  ได้อย่างครอบคลุ่ม และเชื่อถือได้ (ว8.1 ม.3/1)
- สร้างสมมติฐาน ที่สามารถตรวจสอบได้และวางแผนการสำรวจตรวจสอบหลาย ๆ วิธี (ว8.1 ม.3/2)
- เลือกเทคนิควิธีการสำรวจตรวจสอบทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพที่ได้ผลเที่ยงตรงและปลอดภัยโดยใช้วัสดุและเครื่องมือที่เหมาะสม (ว8.1 ม.3/3)


สาระการเรียนรู้
วิเคราะห์มาตรฐานการเรียนรู้รายวิชากับตัวชี้วัด
2.2
3.1
3.2
    สังคมศึกษา
- ระบบการปกครอง
- หน้าที่พลเมือง

-  อธิบายระบอบ การปกครอง แบบต่าง ๆ ที่ใช้ในยุคปัจจุบัน    (ส2..2 ม.3/1)
- วิเคราะห์เปรียบเทียบระบอบ การปกครองของไทยกับประเทศอื่นๆ 
 ที่มีการปกครองระบอบประชาธิปไตย
(ส2..2 ม.3/2)
- วิเคราะห์รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันในมาตราต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการเลือกตั้ง การมีส่วนร่วมและการตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ (ส2..2 ม.3/3)
- วิเคราะห์ประเด็นปัญหา   ที่เป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาประชาธิปไตยของประเทศไทยและเสนอแนวทางแก้ไข (ส2..2 ม.3/4)
- อธิบายกลไกราคาในระบบเศรษฐกิจ
(ส3.1 ม.3/1)
- มีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาและพัฒนาท้องถิ่น (ส3.1  ม.3/2)
- อธิบายบทบาทหน้าที่ของรัฐบาลในระบบเศรษฐกิจ
(ส3.2   ม.3/1)
- แสดงความคิดเห็นต่อนโยบายและกิจกรรมทางเศรษฐกิจของรัฐบาลที่มีต่อบุคคล กลุ่มคนและประเทศชาติ (ส3.2   ม.3/2)
- อภิปรายบทบาทความสำคัญของการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศ (ส3.2   ม.3/3)
-  อภิปรายผลกระทบที่เกิดจากภาวะเงินเฟ้อ เงินฝืด
(ส3.2   ม.3/4)
- วิเคราะห์ผลเสียจากการว่างงานและแนวทางแก้ปัญหา
(ส3.2   ม.3/5)
- วิเคราะห์สาเหตุและวิธีการกีดกันทางการค้าในการค้าระหว่างประเทศ( ส3.2   ม.3/6)
   ประวัติศาสตร์
- ยุคสมัยและวิธีทางประวัติศาสตร์
- ภูมิศาสตร์ที่เปลี่ยนแปลงตามยุคสมัย
- เหตุการณ์ประวัติศาสตร์ที่สำคัญของประเทศไทยในสมันกรุงรัตนโกสินทร์

4.1
4.3
- ประเมินความน่าเชื่อถือของหลักฐานทางประวัติศาสตร์ในลักษณะต่างๆ (ส4.1  ม.3/1)
- วิเคราะห์ความแตกต่างระหว่างความจริงกับข้อเท็จจริงของเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ (ส4.1  ม.3/2)
- เห็นความสำคัญของการตีความ หลักฐานทางประวัติศาสตร์
ที่น่าเชื่อถือ (ส4.2  ม.3/3)

วิเคราะห์พัฒนาการของไทยสมัยรัตนโกสินทร์  ในด้านต่างๆ  (ส4.3  ม.3/1)
-  วิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลต่อความมั่นคงและความเจริญรุ่งเรืองของไทยในสมัยรัตนโกสินทร์(4.3  ม.3/2)
- วิเคราะห์ภูมิปัญญาและวัฒนธรรมไทยสมัยรัตนโกสินทร์และอิทธิพล   ต่อการพัฒนาชาติไทย (4.3  ม.3/3)


สาระการเรียนรู้
วิเคราะห์มาตรฐานการเรียนรู้รายวิชากับตัวชี้วัด
1.1
2.1
สุขศึกษาและพลศึกษา
- การส่งเสริมสุขภาพ
- อิทธิพลความคาดหวังต่อสังคมต่อการเปลี่ยนแปลง
- สื่อโฆษณา
- การวางแผนการดำเนินชีวิต
- เปรียบเทียบการเปลี่ยนแปลงทางด้านร่างกาย  จิตใจ  อารมณ์  สังคม  และสติปัญญา  แต่ละช่วงของชีวิต
(พ1.1 ม.3/1)
-  วิเคราะห์อิทธิพลและความคาดหวังของสังคมต่อการเปลี่ยนแปลงของวัยรุ่น (พ1.1 ม.3/2)
-วิเคราะห์ สื่อ  โฆษณา  ที่มีอิทธิพล ต่อการเจริญเติบโตและพัฒนาการของวัยรุ่น  (พ1.1 ม.3/3)

- อธิบายอนามัยแม่และเด็ก การวางแผนครอบครัว และวิธีการปฏิบัติตนที่เหมาะสม(พ2.1 ม.3/1)
-  วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อ  การตั้งครรภ์ (พ2.1 ม.3/2)
- วิเคราะห์สาเหตุ  และเสนอแนวทางป้องกัน แก้ไขความขัดแย้งในครอบครัว (พ2.1 ม.3/3)

- การเล่นเกมและกีฬาที่ถูกต้องตามกฎกติกา
- วางแผนกิจกรรมเพื่อส่งเสริมสุขภาพและสมรรถภาพ


3.1
3.2
4.1
-  เล่นกีฬาไทยและกีฬาสากล  ได้อย่างละ ๑ ชนิดโดยใช้เทคนิคที่เหมาะสมกับตนเองและทีม (พ3.1 ม.3/1)
-นำหลักการ  ความรู้และทักษะในการเคลื่อนไหว กิจกรรมทางกาย  การเล่นเกม     และการเล่นกีฬาไปใช้สร้างเสริมสุขภาพอย่างต่อเนื่อง  เป็นระบบ (พ3.1 ม.3/2)
-ร่วมกิจกรรมนันทนาการอย่างน้อย 1กิจกรรม  และนำหลักความรู้วิธีการไปขยายผลการเรียนรู้ให้กับผู้อื่น (พ3.1 ม.3/3)
- มีมารยาทในการเล่นและดูกีฬาด้วยความมีน้ำใจนักกีฬา (พ3.2 ม.3/1)
- ออกกำลังกายและเล่นกีฬาอย่างสม่ำเสมอและนำแนวคิดหลักการจากการเล่นไปพัฒนาคุณภาพชีวิตของตนด้วยความภาคภูมิใจ (พ3.2 ม.3/2)
- ปฏิบัติตนตามกฎ  กติกา  และข้อตกลง  ในการเล่นตามชนิดกีฬาที่เลือกและนำแนวคิด ที่ได้ไปพัฒนาคุณภาพชีวิต ของตนในสังคมจำแนกกลวิธีการรุก  (พ3.2 ม.3/3)
 
- การป้องกัน  และใช้ในการเล่นกีฬาที่เลือกและตัดสินใจเลือกวิธีที่เหมาะสมกับทีมไปใช้ได้ตามสถานการณ์  ของการเล่น (พ3.2 ม.3/4)
- เสนอผลการพัฒนาสุขภาพของตนเองที่เกิดจากการออกกำลังกาย และการเล่นกีฬาเป็นประจำ (พ3.2 ม.3/5)
- วางแผนและจัดเวลา ในการ ออกกำลังกาย  การพักผ่อนและการสร้างเสริมสมรรถภาพ    ทางกาย
(พ4.1 ม.3/1)
-  ทดสอบสมรรถภาพทางกาย  และพัฒนาได้ตามความแตกต่างระหว่างบุคคล (พ4.1 ม.3/2)


สาระการเรียนรู้
วิเคราะห์มาตรฐานการเรียนรู้รายวิชากับตัวชี้วัด
1.1
1.2
2.1
3.1
3.2
ศิลปศึกษา
- ทัศนศิลป์ที่สะท้อนคุณค่าของวัฒนธรรม
- ดนตรี
- นาฏศิลป์



 - บรรยายสิ่งแวดล้อม และงานทัศนศิลป์ที่เลือกมาโดยใช้ความรู้เรื่องทัศนธาตุ และหลักการออกแบบ (ศ1.1 ม.3/1)
- ระบุ และบรรยายเทคนิค  วิธีการของศิลปินในการสร้างงาน ทัศนศิลป์(ศ1.1 ม.3/2)
-. วิเคราะห์ และบรรยายวิธีการใช้ทัศนธาตุ และหลักการออกแบบในการสร้างงาน   ทัศนศิลป์ของตนเองให้มีคุณภาพ (ศ1.1 ม.3/3)
- มีทักษะในการสร้างงานทัศนศิลป์อย่างน้อย ๓  ประเภท (ศ1.1 ม.3/4)
- มีทักษะในการผสมผสานวัสดุต่าง ๆ ในการสร้างงานทัศนศิลป์โดยใช้หลักการออกแบบ (ศ1.1 ม.3/5)
- สร้างงานทัศนศิลป์ ทั้ง ๒ มิติ และ ๓ มิติเพื่อถ่ายทอดประสบการณ์และจินตนาการ (ศ1.1 ม.3/6)
- สร้างสรรค์งานทัศนศิลป์สื่อความหมายเป็นเรื่องราวโดยประยุกต์ใช้ทัศนธาตุ และหลักการออกแบบ (ศ1.1 ม.3/7)
- ศึกษาและอภิปรายเกี่ยวกับงานทัศนศิลป์(ศ1.2 ม.3/1)
ที่สะท้อนคุณค่าของวัฒนธรรม
- เปรียบเทียบความแตกต่างของงานทัศนศิลป์ ในแต่ละยุคสมัย ของวัฒนธรรมไทยและสากล
(ศ1.2 ม.3/2)


- เปรียบเทียบองค์ประกอบที่ใช้ในงานดนตรีและงานศิลปะอื่น  (ศ2.1 ม.3/1)
- ร้องเพลง  เล่นดนตรีเดี่ยว และรวมวง โดยเน้นเทคนิคการร้อง การเล่น การแสดงออก และคุณภาพสียง
(ศ2.1 ม.3/2)
- แต่งเพลงสั้น ๆ จังหวะง่าย ๆ
(ศ2.1 ม.3/3)
- อธิบายเหตุผลในการเลือกใช้องค์ประกอบดนตรี ในการสร้างสรรค์งานดนตรีของตนเอง(ศ2.1 ม.3/4)
- เปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างงานดนตรีของตนเองและผู้อื่น  
(ศ2.1 ม.3/5)                
- อธิบายเกี่ยวกับอิทธิพลของดนตรีที่มีต่อบุคคลและสังคม (ศ2.1 ม.3/6)
-นำเสนอ หรือจัดการแสดงดนตรีที่เหมาะสม โดยการ บูรณาการกับสาระการเรียนรู้อื่นในกลุ่มศิลปะ
(ศ2.1 ม.3/7)


- ระบุโครงสร้างของบทละครโดยใช้ศัพท์ทางการละคร
 (ศ3.1 .3/1)
-ใช้นาฏยศัพท์ หรือศัพท์ทางการละครที่เหมาะสมบรรยายเปรียบเทียบการแสดงอากัปกิริยาของผู้คนในชีวิต ประจำวันและในการแสดง
 (ศ3.1 .3/2)
- มีทักษะในการใช้ความคิดในการพัฒนารูปแบบการแสดง
(ศ3.1 .3/3)
- มีทักษะในการแปลความและการสื่อสารผ่านการแสดง
(ศ3.1 .3/4)
- วิจารณ์เปรียบเทียบงานนาฏศิลป์ที่มีความแตกต่างกันโดยใช้ความรู้เรื่ององค์ประกอบนาฏศิลป์ (ศ3.1 .3/5)
- ร่วมจัดงานการแสดง ในบทบาทหน้าที่ต่าง ๆ
(ศ3.1 .3/6)

- ออกแบบ และสร้างสรรค์อุปกรณ์ และเครื่องแต่งกาย เพื่อแสดงนาฏศิลป์และการละครที่มาจากวัฒนธรรมต่าง ๆ
(ศ3.2 ม.3/1)
- อธิบายความสำคัญและบทบาทของนาฏศิลป์และการละครในชีวิตประจำวัน (ศ3.2 ม.3/2)
- แสดงความคิดเห็นในการอนุรักษ์ (ศ3.2 ม.3/3)


สาระการเรียนรู้
วิเคราะห์มาตรฐานการเรียนรู้รายวิชากับตัวชี้วัด
1.1
3.1

-  วิเคราะห์และอภิปรายรูปแบบ เนื้อหาและคุณค่าในงานทัศนศิลป์ของตนเอง และผู้อื่น หรือของศิลปิน (ศ1.1 ม.3/8)
-สร้างสรรค์งานทัศนศิลป์เพื่อบรรยาย     เหตุการณ์ต่าง ๆ โดยใช้เทคนิคที่หลากหลาย
(ศ1.1 ม.3/9)
- นำเสนอแนวคิดจากเนื้อเรื่อง ของการแสดงที่สามารถนำไป
ปรับใช้ในชีวิตประจำวัน (ศ3.1 .3/7)
การงานอาชีพและเทคโนโลยี
- ขั้นตอนการสร้างชิ้นงาน
1.1
3.1
- อภิปรายขั้นตอนการทำงานที่มีประสิทธิภาพ (ง1.1 ม.3/1)
- ใช้ทักษะในการทำงานร่วมกันอย่างมีคุณธรรม (ง1.1 ม.3/2)
- อภิปรายการทำงานโดยใช้ทักษะ การจัดการเพื่อการประหยัดพลังงาน ทรัพยากร และสิ่งแวดล้อม (ง1.1 ม.3/3)
-ใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสร้างชิ้นงานจากจินตนาการหรืองานที่ทำใน (ง3.1 ม.3/1)
ชีวิตประจำวัน ตามหลักการทำโครงงานอย่างมีจิตสำนึกและ ความรับผิดชอบ
 (ง3.1 ม.3/2)

หน้าที่พลเมือง

- สามารถแสดงออก แนะนำผู้อื่น และมีส่วนร่วมในกิจกรรมเกี่ยวกับความเอื้อเฟื้อ
 เผื่อแผ่ และ เสียสละ (1.1 ม.3/2)
- ปฏิบัติตนเป็นพลเมืองดีตามวิถี-ประชาธิปไตย  (3.1 ม.3/6)
- มีส่วนร่วมและรับผิดชอบ ในการตัดสินใจตรวจสอบข้อมูล ตรวจสอบ การทำหน้าที่ของบุคคลเพื่อใช้ประกอบการตัดสินใจ (3.2 ม.3/7)
- เห็นคุณค่า ของการอยู่ร่วมกันในภูมิภาคเอเชียอย่างสันติ และพึ่งพาซึ่งกัน
และกัน (
4.1 ม.3/8)

 สิ่งที่รู้แล้ว/สิ่งที่อยากเรียนรู้
                 


ปฏิทินกิจกรรมการเรียนรู้
Week
input
Process
Output
Outcome
1
โจทย์
- การเล่นเกมและกีฬาที่ถูกต้องตามกฎกติกา
- วางแผนกิจกรรมเพื่อส่งเสริมสุขภาพและสมรรถภาพ
Key  Questions
- นักเรียนคิดว่าตนเอง เหมาะสมกับการออกกำลังกายเพื่อพัฒนาสมรรถภาพให้ดียิ่งขึ้นในรูปแบบใด
- นักเรียนคิดว่าการออกกำลังกายเพียงอย่างเดียว เพียงพอกับการพัฒนาสมรรถภาพด้านร่างกายของตนเองแล้วหรือไม่อย่างไร
เครื่องมือคิด
Show and Share
- นำเสนอความคิดเห็น เกี่ยวกับกางแผนและการปฏิบัติเพื่อพัฒนาสมรรถภาพด้านร่างกายของตนเอง
 Flow Chart
ความเชื่อมโยงและปัจจัยด้านต่างๆที่มีควบคู่กับการออกกำลังกาย

ผู้ร่วมสร้างการเรียนรู้
นักเรียน/ครู
สื่อและแหล่งเรียนรู้
- ห้องสมุด
- internet
- บรรยากาศในห้องเรียน
- คลิปการออกกำลังกายแบบ แอโรบิค
- เกม ประเภทเกมกีฬา
- สนามกีฬา
- ตาชั่ง
- มาตรวัดส่วนสูง
-ใบงาน กีฬาและกติกา
- ชั่งน้ำหนักและวัดส่วนสูง พร้อมบันทึกลงในสมุดบันทึกเล่มเล็ก
- เปิดคลิปวีดีโอการออกกำลังกาย แอโรบิค และร่วมกันทำกิจกรรม เต้นแอโรบิค
- พูดคุยเกี่ยวกับสิ่งที่สังเกตเห็นในการออกกำลังกาย โดยการเต้นแอโรบิค
- นักเรียนคิดว่าตนเอง เหมาะสมกับการออกกำลังกายเพื่อพัฒนาสมรรถภาพให้ดียิ่งขึ้นในรูปแบบใด?”
- สืบค้นข้อมูลและนำเสนอเกี่ยวกับ วิธีการออกกำลังและการวางแผนสุขภาพของตนเองเพื่อพัฒนาสมรรถภาพตามวัย
- ออกแบบและนำเสนอตารางออกกำลังกาย
- ออกกำลังกายตามตารางกิจกรรมของตนเอง อย่างต่อเนื่อง พร้อมบันทึกผลในตารางที่ออกแบบ
 - นักเรียนคิดว่าการออกกำลังกายเพียงอย่างเดียว เพียงพอกับการพัฒนาสมรรถภาพด้านร่างกายของตนเองแล้วหรือไม่อย่างไร?”
- ร่วมแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับคำถาม
- นำเสนอความเชื่อมโยงและปัจจัยด้านต่างๆที่มีควบคู่กับการออกกำลังกายในรูปแบบ Flow Chart
- เล่นเกม ประเภทเกมกีฬา
- จัดหมวดหมู่ของประเภทเกมและกีฬาที่ได้จากกิจกรรม
- นักเรียนจับฉลาก จับคู่ และร่วมกันออกแบบเกมหรือกีฬาพร้อมกติกา ที่ใช้สำหรับกิจกรรมนี้
- วางแผน สืบค้นข้อมูลและนำเสนอ
- สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
- นำเพื่อนเล่นกิจกรรมที่ได้ออกแบบ และอภิปรายร่วมกันเกี่ยวกับสิ่งที่ได้เรียนรู้จากกิจกรรม
- วิเคราะห์ใบงาน กีฬาและกติกา ให้นักเรียนแต่ละคน
ภาระงาน
- ร่วมพูดคุยเกี่ยวกับสิ่งที่สังเกตเห็นในการออกกำลังกาย โดยการเต้นแอโรบิค
- สืบค้นข้อมูลเกี่ยวกับ วิธีการออกกำลังและการวางแผน
สุขภาพของตนเองเพื่อพัฒนาสมรรถภาพตามวัย
- ออกแบบตารางออกกำลังกายให้เหมาะสมกับเกณฑ์สุขภาพสำหรับตนเอง
- เขียน Flow Chartความเชื่อมโยงและปัจจัยด้านต่างๆที่มีควบคู่กับการออกกำลังกาย
- ร่วมเล่นเกมและวิเคราะห์สิ่งที่ได้จากกิจกรรม ประเภทเกมกีฬา
- ร่วมจัดหมวดหมูประเภทกีฬาและเกม
- สืบค้นข้อมูลและนำเสนอเกมและกีฬา
- ออกแบบและนำเสนอกิจกรรม เกมหรือกีฬา

ชิ้นงาน
- ตารางวางแผนการพัฒนาสมรรถภาพ
- Flow Chart ความเชื่อมโยงและปัจจัยด้านต่างๆที่มีควบคู่กับการออกกำลังกาย
- ชาร์ตภาพ  Time Line ,ภาพเรื่องราว หรือ Power point ความเป็นมาและกติกาของเกม กีฬา
- กิจกรรมเกมหรือกีฬา รูปแบบใหม่
-ใบงาน กีฬาและกติกา
- สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
ความรู้
การเล่นเกมและกีฬาที่ถูกต้องตามกฎกติกา รวมถึงการวางแผนกิจกรรมเพื่อส่งเสริมสุขภาพและสมรรถภาพ ให้สมกับวัย
ทักษะ
ทักษะชีวิต
- การวางแผนในการทำงานกลุ่ม
- สามารถเรียนรู้และเชื่อมโยงเรื่องที่ศึกษากับชีวิตประจำวันของตนเองได้
ทักษะการจัดการข้อมูล
 การคิดวิเคราะห์และจัดการข้อมูลที่ใช้ในการนำเสนอเกี่ยวกับความเชื่อมโยงและปัจจัยที่มีผลต่อการพัฒนาสมรรถภาพร่างกายและจิตใจ
 ทักษะการอยู่ร่วมกัน
- นักเรียนแต่ละคน ได้ร่วมแสดงความคิดเห็น และรับฟังทัศนะคติของทุกๆคนอย่างมีเหตุผล
- กระบวนการเรียนรู้ร่วมกันเกี่ยวกับการสืบค้นข้อมูลเพื่อใช้ในการร่วมเรียนรู้กับผู้อื่น
ทักษะความคิดสร้างสรรค์
- การนำเสนอสิ่งที่ได้สืบค้นในรูปแบบ ชาร์ตภาพ  Time Line ,ภาพเรื่องราว หรือ Power point
- การออกแบบและนำเสนอกิจกรรม เกมหรือกีฬาในรูปแบบใหม่ ตามจินตนาการตาม
ข้อมูลที่สืบค้น

คุณลักษณะ
- การเคารพและยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
- สรุปสิ่งที่ตนเองได้เรียนรู้ได้อย่างสร้างสรรค์
-  มีวินัยและความรับผิดชอบต่อสิ่งที่ได้รับมอบหมาย
- มีความมุ่งมั่นในการทำงาน


Week
input
Process
Output
Outcome
 2

โจทย์
- ทัศนศิลป์ที่สะท้อนคุณค่าของวัฒนธรรม
Key  Questions
- นักเรียนคิดว่าแต่ละภาพที่ได้ดู ศิลปินต้องการสื่อความหมายอะไร
- หัวใจสำคัญของงานศิลปะที่มองผ่านรูปแบบทัศนศิลป์ คืออะไร
- นักเรียนจะสามารถถ่ายทอดความหมายของคำเหล่านี้ ในรูปแบบงานศิลป์ได้อย่างไร
เครื่องมือคิด
Show and Share
- นำเสนอความคิดเห็น เกี่ยวกับการใช้ทัศนศิลป์ช่วยสะท้อนคุณค่าของวัฒนธรรมและความแตกต่างของศิลปะในแขนงต่างๆ


ผู้ร่วมสร้างการเรียนรู้
นักเรียน/ครู
สื่อและแหล่งเรียนรู้
- ห้องสมุด
- ดูและวิเคราะห์คลิปการแสดง หุ่นละครเล็ก โจหลุยส์ให้นักเรียนดู ซึ่งเกี่ยวกับการถ่ายความงามด้านนาฏศิลป์ผ่านหุ่นกระบอก
- “จากการแสดงที่ได้ดูนักเรียนรู้สึกและสังเกตเห็นอะไรบ้าง?”
- นักเรียนแต่ละคนนำเสนอความคิดเห็น
- ดูภาพวาดศิลปะต่างๆ 
- นักเรียนคิดว่าแต่ละภาพที่ได้ดู ศิลปินต้องการสื่อความหมายอะไร?”
-นักเรียนแต่ละคนนำเสนอความคิดเห็นและเขียนแสดงทัศนะคติของตนเองที่มีต่อศิลปินในสมุดบันทึกเล่มเล็ก
- ฉลากและตัวแทนกลุ่มจับฉลากเลือกหัวข้อ ดังนี้   ทัศนศิลป์ ,  ดนตรี  ,นาฏศิลป์
-  กลุ่มสืบค้นและนำเสนอข้อมูลในรูปแบบการแสดง
 - อภิปรายร่วมกัน
 - หัวใจสำคัญของงานศิลปะที่มองผ่านรูปแบบทัศนศิลป์ คืออะไร?”
-นักเรียนแต่ละคนร่วมนำเสนอความคิดเห็น
- จับฉลากเลือกคำเพื่อสื่อความหมาย อาทิเช่น  ชีวิต  ความงาม  ความจริง  ฯลฯ
- นักเรียนจะสามารถถ่ายทอดความหมายของคำเหล่านี้ ในรูปแบบงานศิลป์ได้อย่างไร?” (งานปั้น  , งานวาด , ดนตรี ,นาฏศิลป์)
- ออกแบบงานศิลป์ของตนเองและนำเสนอ
- วิเคราะห์ใบงาน ความเข้าใจทัศนศิลป์ที่สะท้อนคุณค่าของวัฒนธรรม ดนตรี และ นาฏศิลป์ให้นักเรียนแต่ละคน
ภาระงาน
- วิเคราะห์คลิปการแสดง หุ่นละครเล็ก โจหลุยส์
- จับฉลากและสืบค้นข้อมูลพร้อมนำเสนอ ทัศนศิลป์ , ดนตรี  ,นาฏศิลป์
- จับฉลากเลือกคำวิเคราะห์ความหมายเพื่อสร้างงานศิลป์ อาทิเช่น  ชีวิต  ความงาม  ความจริง  ความรัก ฯลฯ
- นำเสนองานศิลป์และทำใบงานเกี่ยวกับความเข้าใจทัศนศิลป์ที่สะท้อนคุณค่าของวัฒนธรรม ดนตรี และ นาฏศิลป์

ชิ้นงาน
- การแสดงถ่ายทอด ทัศนศิลป์ ,  ดนตรี  ,นาฏศิลป์
- งานศิลป์ สื่อความหมายของคำ
- สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
ความรู้
ความหมายของทัศนศิลป์ที่สะท้อนคุณค่าของวัฒนธรรมและความแตกต่างของศิลปะในแขนงต่างๆ
ทักษะ
ทักษะชีวิต
- การวางแผนในการทำงานกลุ่ม
- สามารถเรียนรู้และเชื่อมโยงเรื่องที่ศึกษากับชีวิตประจำวันของตนเองได้
ทักษะการจัดการข้อมูล
 การคิดวิเคราะห์และจัดการข้อมูลที่ใช้ในการนำเสนอเกี่ยวกับความหมายของทัศนศิลป์ที่สะท้อนคุณค่าของวัฒนธรรมและความแตกต่างของศิลปะในแขนงต่างๆ
 ทักษะการอยู่ร่วมกัน
- นักเรียนแต่ละคน ได้ร่วมแสดงความคิดเห็น และรับฟังทัศนะคติของทุกๆคนอย่างมีเหตุผล
- กระบวนการเรียนรู้ร่วมกันเกี่ยวกับการสืบค้นข้อมูลเพื่อใช้ในการร่วมเรียนรู้กับผู้อื่น
ทักษะความคิดสร้างสรรค์
- การนำเสนอสิ่งที่ได้สืบค้นด้าน ทัศนศิลป์ ,  ดนตรี  ,นาฏศิลป์ในรูปแบบการแสดง
- การสื่อความหมายของคำผ่านงานศิลป์ที่ตนเองชื่นชอบ
คุณลักษณะ
- การเคารพและยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
- สรุปสิ่งที่ตนเองได้เรียนรู้ได้อย่างสร้างสรรค์
-  มีวินัยและความรับผิดชอบต่อสิ่งที่ได้รับมอบหมาย
- มีความมุ่งมั่นในการทำงาน
Week
input
Process
Output
Outcome
3
โจทย์
ดนตรี
Key  Questions
- นักเรียนคิดว่าดนตรีมีความผสมผสานกับวิถีชีวิตของเราอย่างไร

เครื่องมือคิด
Show and Share
- นำเสนอความคิดเห็น เกี่ยวกับการใช้ทัศนศิลป์ช่วยสะท้อนคุณค่าของวัฒนธรรมด้านดนตรี

ผู้ร่วมสร้างการเรียนรู้
นักเรียน/ครู
สื่อและแหล่งเรียนรู้
- ห้องสมุด
- internet
- บรรยากาศในห้องเรียน
- คลิป VDO เพลง “จังหวะ จะ เดิน
- คลิป VDO น้ำกับจังหวะดนตรี
- อุปกรณ์ประกอบการนำเสนอ เช่น กีตาร์  ระนาด ขิม ซอ ฯลฯ
-ใบงานความเข้าใจด้านดนตรี
- ดูคลิป VDO เพลง “จังหวะ จะ เดิน
- วิเคราะห์สิ่งที่ได้ดูและอภิปรายร่วมกัน
- ครูเปิดเพลง
ฟังเพลง แต่ละยุคสมัยและถ่ายทอดความรู้สึกที่ได้จากการฟัง
- จับฉลากแบ่งกลุ่ม และเลือกหัวข้อ
- สืบค้นข้อมูล  อาทิเช่น  ยุคสมัยด้านดนตรี  ดนตรีกับความคิดดนตรีกับอารมณ์    ดนตรีกับภาษา    ดนตรีกับร่างกาย และ
ดนตรีกับสุนทรียะ
- วิเคราะห์ข้อมูล สร้างชิ้นงาน และอภิปรายร่วมกัน
- ดูคลิป VDO น้ำกับจังหวะดนตรี
- วิเคราะห์และอภิปรายร่วมกันเกี่ยวกับสิ่งที่ได้ดู
- นักเรียนแต่ละกลุ่มแต่งเพลง และคิดทำนองประกอบ
- นำเสนอบทเพลงของแต่ละกลุ่ม
- อภิปรายร่วมกัน
- วิเคราะห์ใบงานความเข้าใจด้านดนตรี
- สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
ภาระงาน
- วิเคราะห์คลิป VDO เพลง “จังหวะ จะ เดิน
- จับฉลากและสืบค้นข้อมูลพร้อมนำเสนอ เกี่ยวกับ    ยุคสมัยด้านดนตรี  ดนตรีกับความคิดดนตรีกับอารมณ์    ดนตรีกับภาษา    ดนตรีกับร่างกาย และ ดนตรีกับสุนทรียะ
- วิเคราะห์คลิป VDO น้ำกับจังหวะดนตรี
- แต่งเพลง และคิดทำนองประกอบ
- นำเสนอบทเพลง
 - อภิปรายร่วมกัน
- วิเคราะห์ใบงานความเข้าใจด้านดนตรี

ชิ้นงาน
- ชาร์ตข้อมูล    Timeline  หรือตามความสนใจ เกี่ยวกับดนตรี
- เพลง
- ใบงาน
- สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
ความรู้
- ความผสมผสานของดนตรีกับการดำเนินชีวิต
- การแต่งเพลงประกอบด้วยทำนอง

ทักษะ
ทักษะชีวิต
- การวางแผนในการทำงานกลุ่ม
- สามารถเรียนรู้และเชื่อมโยงเรื่องที่ศึกษากับชีวิตประจำวันของตนเองได้
ทักษะการจัดการข้อมูล
 การคิดวิเคราะห์และจัดการข้อมูลเพื่อใช้ในการนำเสนอเกี่ยวกับดนตรีกับการดำเนินชีวิต
 ทักษะการอยู่ร่วมกัน
- นักเรียนแต่ละคน ได้ร่วมแสดงความคิดเห็น และรับฟังทัศนะคติของทุกๆคนอย่างมีเหตุผล
- กระบวนการเรียนรู้ร่วมกันเกี่ยวกับการสืบค้นข้อมูลเพื่อใช้ในการร่วมเรียนรู้กับผู้อื่น
ทักษะความคิดสร้างสรรค์
- การนำเสนอสิ่งที่ได้สืบค้นด้าน ทัศนศิลป์ ,  ดนตรี  ,นาฏศิลป์ในรูปแบบการแสดง
- การสื่อความหมายของคำผ่านงานศิลป์ที่ตนเองชื่นชอบ

คุณลักษณะ
- การเคารพและยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
- สรุปสิ่งที่ตนเองได้เรียนรู้ได้อย่างสร้างสรรค์
-  มีวินัยและความรับผิดชอบต่อสิ่งที่ได้รับมอบหมาย
- มีความมุ่งมั่นในการทำงาน
Week
input
Process
Output
Outcome
4
โจทย์
นาฏศิลป์
Key  Questions
- ฟ้อน รำ ระบำ โขน  มีความแตกต่างกันอย่างไร
- ความแตกต่างของแต่ละท้องถิ่นส่งผลอย่างไรต่อศิลปะด้านนาฏศิลป์

เครื่องมือคิด
Show and Share
นำเสนอความคิดเห็น เกี่ยวกับการใช้ทัศนศิลป์ช่วยสะท้อนคุณค่าของวัฒนธรรมด้านดนตรี
Card and Chart
จัดระบบข้อมูลร่วมกัน เกี่ยวกับสิ่งที่ได้จากการแสดงโขน
ผู้ร่วมสร้างการเรียนรู้
นักเรียน/ครู
สื่อและแหล่งเรียนรู้
- ห้องสมุด
- internet
- บรรยากาศในห้องเรียน
- คลิปVDO รำมโนราห์, ฟ้อนเล็บ , เซิ้งแหย่ไข่มดแดง
- ภาพและคำเกี่ยวกับนาฏศิลป์ไทย
-คลิป VDO  การแสดงโขนชุด ศึกกุมภกรรณ ตอน โมกขศักดิ์
-ใบงานเกี่ยวกับนาฏศิลป์
- ครูเปิดคลิป รำมโนราห์, ฟ้อนเล็บ , เซิ้งแหย่ไข่มดแดง ให้นักเรียนดู
- อภิปรายร่วมกันเกี่ยวกับสิ่งที่ได้ดู
- นักเรียนจับฉลากเลือกคำ หรือภาพ และแสดงทัศนะคติตามความใจของตนเอง
- ร่วมกันจัดหมวดหมู่ภาพและคำที่ได้ (ของแต่ละภาค)
-  จับฉลากแบ่งกลุ่ม สืบค้นข้อมูล จากภาพและคำที่ได้จัดหมวดหมู่  
- วิเคราะห์ข้อมูลและออกแบบชิ้นงานตามความสนใจ ลงในกระดาษ A4
- นำเสนอข้อมูล ในรูปแบบการแสดง
- ครูเปิดคลิป VDO  การแสดงโขนชุด ศึกกุมภกรรณ ตอน โมกขศักดิ์ ให้นักเรียนดู
- วิเคราะห์จัดระบบข้อมูลร่วมกัน เกี่ยวกับสิ่งที่ได้จากการแสดงโขน (Card and Chart)
- จับฉลากแบ่งกลุ่ม ศึกษาข้อมูล  อาเช่น   เครื่องแต่งตัวพระ
นาง   เครื่องแต่งตัวยักษ์ (ทศกัณฐ์)เครื่องแต่งตัวลิง (หนุมาน)    นาฏศิลป์กับบทบาททางสังคม  และนาฎยศัพท์
- วิเคราะห์ข้อมูลและออกแบบชิ้นงานตามความ
 - นำเสนอข้อมูลและอภิปรายร่วมกัน
- วิเคราะห์ใบงานเกี่ยวกับนาฏศิลป์
- สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
ภาระงาน
- วิเคราะห์และอภิปรายร่วมกันเกี่ยวกับคลิป รำมโนราห์, ฟ้อนเล็บ , เซิ้งแหย่ไข่มดแดง
 - แสดงทัศนะคติต่อภาพและคำที่ได้พร้อมสืบค้นข้อมูล
- วิเคราะห์และอภิปรายร่วมกันเกี่ยวคลิป VDO  การแสดงโขนชุด ศึกกุมภกรรณ ตอน โมกขศักดิ์
- สืบค้นข้อมูลและนำเสนอ เกี่ยวกับ นาฏศิลป์ไทย
- วิเคราะห์ใบงานความเข้าใจด้านดนตรี

ชิ้นงาน
- การแสดงถ่ายทอดศิลปะด้านนาฏศิลป์ของแต่ละภาค (ที่ได้จากการจัดหมวดหมู่ข้อมูล)
-  ข้อมูลเกี่ยวกับ นาฏศิลป์ไทย
- ใบงาน
- สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
ความรู้
- ความแตกต่างของแต่ละท้องถิ่นที่ส่งผลต่อศิลปะด้านนาฏศิลป์
- ลักษณะศิลปะด้านนาฏศิลป์ของแต่ละภาคของประเทศไทย
- นาฏศิลป์ไทย  อาทิเช่น เครื่องแต่งตัวพระ
นาง   เครื่องแต่งตัวยักษ์ (ทศกัณฐ์)เครื่องแต่งตัวลิง (หนุมาน)    นาฏศิลป์กับบทบาททางสังคม  และนาฎยศัพท์

ทักษะ
ทักษะชีวิต
- การวางแผนในการทำงานกลุ่ม
- สามารถเรียนรู้และเชื่อมโยงเรื่องที่ศึกษากับชีวิตประจำวันของตนเองได้
ทักษะการจัดการข้อมูล
 การคิดวิเคราะห์และจัดการข้อมูลเพื่อใช้ในการนำเสนอเกี่ยวกับดนตรีกับการดำเนินชีวิต
 ทักษะการอยู่ร่วมกัน
- นักเรียนแต่ละคน ได้ร่วมแสดงความคิดเห็น และรับฟังทัศนะคติของทุกๆคนอย่างมีเหตุผล
- กระบวนการเรียนรู้ร่วมกันเกี่ยวกับการสืบค้นข้อมูลเพื่อใช้ในการร่วมเรียนรู้กับผู้อื่น
ทักษะความคิดสร้างสรรค์
- การนำเสนอสิ่งที่ได้สืบค้นด้าน ทัศนศิลป์ ,  ดนตรี  ,นาฏศิลป์ในรูปแบบการแสดง

คุณลักษณะ
- การเคารพและยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
- สรุปสิ่งที่ตนเองได้เรียนรู้ได้อย่างสร้างสรรค์
-  มีวินัยและความรับผิดชอบต่อสิ่งที่ได้รับมอบหมาย
- มีความมุ่งมั่นในการทำงาน
Week
input
Process
Output
Outcome
5-6
โจทย์
Animation มีชีวิต
Key  Questions
- นักเรียนคิดว่า  จะพัฒนางานตัดต่อด้าน  Animation อย่างไร

เครื่องมือคิด
Show and Share
- นำเสนอความคิดเห็น เกี่ยวกับ สิ่งที่ทำได้ดีแล้ว และสิ่งที่ต้องการพัฒนางานด้าน  Animation
Flow Chart
สรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้

ผู้ร่วมสร้างการเรียนรู้
นักเรียน/ครู
สื่อและแหล่งเรียนรู้
- ห้องสมุด/internet
- บรรยากาศในห้องเรียน
- คลิป   Animation...ชีวิตเสมือนจริง
- คลิป VDO หนังสั้น และงานตัดต่อที่เคยทำผ่านมาแล้ว
- โปรแกรมสำหรับตัดต่อ
เปิดคลิป VDO หนังสั้น  หรืองานที่เคยทำผ่านมาแล้ว
ร่วมวิเคราะห์ สิ่งที่ทำได้ดีแล้ว และสิ่งที่ต้องการพัฒนางานเพิ่มขึ้น
- ครูเปิดคลิป   Animation...ชีวิตเสมือนจริง
- ครูต้น ร่วมพูดคุยและเสนอแนะ งานตัดต่อที่ผ่านมา
- จับฉลากแบ่งกลุ่ม
- ออกแบบ Story borad  งาน Animation...ชีวิตเสมือนจริง”ของกลุ่มตนเอง พร้อมนำสนอ
- วิเคราะห์และอภิปรายร่วมกัน
- ครูต้นแนะนำโปรแกรม เกี่ยวกับการสร้าง  Animation ชีวิตเสมือนจริง
- นักเรียนแต่ละกลุ่มร่วมศึกษา โปรแกรมและลงมือใช้งานเพื่อสร้างงานของตนเอง โดยมีครูต้นช่วยแนะนำ
- นักเรียนแต่ละกลุ่มนำเสนองานช่วงที่ 1 และอภิปรายร่วมกันเกี่ยวกับสิ่งที่ได้เรียนรู้ และวิเคราะห์ปัญหาที่เกิดขึ้นในช่วงการใช้งานโปรแกรม
- นักเรียนแต่ละกลุ่มดำเนินงานต่อและนำเสนองานช่วงที่ 2  และอภิปรายร่วมกันเกี่ยวกับสิ่งที่ได้เรียนรู้ และวิเคราะห์ปัญหาที่เกิดขึ้นในช่วงการทำงาน
- นักเรียนแต่ละกลุ่มนำเสนอข้อมูล 
- อภิปรายร่วมกันเกี่ยวกับสิ่งที่ได้เรียนรู้และถ่ายทอดในรูปแบบของ Flow Chart
- สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
ภาระงาน
- วิเคราะห์ สิ่งที่ทำได้ดีแล้ว และสิ่งที่ต้องการพัฒนางานเพิ่มขึ้น
เกี่ยวกับ งานตัดต่อที่ผ่านมา
- ออกแบบ Story borad  งาน Animation...ชีวิตเสมือนจริง”ของกลุ่มตนเอง พร้อมนำสนอ
- สร้างงานจากโปรแกรมตัดต่อ
ชิ้นงาน
-  Animation...ชีวิตเสมือนจริง
- Flow Chart สรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้
- สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
ความรู้
-  Animation การ์ตูน เสมือนจริง
- การใช้โปรแกรม..........สำหรับสร้างงานที่ดี

ทักษะ
ทักษะชีวิต
- การวางแผนในการทำงานกลุ่ม
- สามารถเรียนรู้และเชื่อมโยงเรื่องที่ศึกษากับชีวิตประจำวันของตนเองได้
ทักษะการอยู่ร่วมกัน
- นักเรียนแต่ละคน ได้ร่วมแสดงความคิดเห็น และรับฟังทัศนะคติของทุกๆคนอย่างมีเหตุผล
- กระบวนการเรียนรู้ร่วมกันเกี่ยวกับการสืบค้นข้อมูลเพื่อใช้ในการร่วมเรียนรู้กับผู้อื่น
ทักษะความคิดสร้างสรรค์
- การนำเสนอความคิดของตนเองผ่านงาน Animation
คุณลักษณะ
- การเคารพและยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
- สรุปสิ่งที่ตนเองได้เรียนรู้ได้อย่างสร้างสรรค์
-  มีวินัยและความรับผิดชอบต่อสิ่งที่ได้รับมอบหมาย
- มีความมุ่งมั่นในการทำงาน
Week
input
Process
Output
Outcome
7-8
โจทย์
การสร้าง Application
Key  Questions
- นักเรียนคิดว่า ตัวเลขหรือข้อมูล ที่ขึ้นอยู่บนหน้าจอมือถือในระบบ Android นี้ มีจุดเริ่มต้นของระบบการทำงานอย่างไร
- หากนักเรียนต้องการสร้าง Application ของตนเอง  นักเรียนจะสร้างให้มีคุณสมบัติอย่างไร

เครื่องมือคิด
Show and Share
- นำเสนอความคิดเห็น เกี่ยวกับการสร้าง Application ของตนเองโดยใช้โปรแกรมต่างๆ
Flow Chart
สรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้

ผู้ร่วมสร้างการเรียนรู้
นักเรียน/ครู

สื่อและแหล่งเรียนรู้
- ห้องสมุด
- internet
- บรรยากาศในห้องเรียน
- Application บนมือถือหรือ IPAD
- โปรแกรมสำหรับสร้าง Application
- คลิป VDO หนังสั้น และงานตัดต่อที่เคยทำผ่านมาแล้ว
- โปรแกรมสำหรับตัดต่อ
- ครูและนักเรียนร่วมพดคุยเกี่ยวกับ มาตรวัดและค่าต่างๆที่ขึ้นอยู่บนหน้าจอมือถือในระบบ Android เช่น อุณหภูมิ ตำแหน่งที่ตั้ง   เวลาบอกพระอาทิตย์ขึ้น ตก , ข้างขึ้น - ข้างแรม
- ครูต้นร่วมพูดคุยกับนักเรียนเกี่ยวกับ ระบบปฏิบัติการ และการสร้าง Application ต่างๆ ในระบบ Android
-  ครูแจกกระดาษให้นักเรียนแต่ละคนออกแบบ Application ของตนเอง
- นักเรียนแต่ละคนนำเสนอ รูปแบบและคุณสมบัติ Application ของตนเอง
- อภิปรายร่วมกัน
- นักเรียนแต่ละคนสืบค้นข้อมูลเกี่ยวกับการสร้าง Application ของตนเอง
- นำเสนอข้อมูลและอภิปรายร่วมกันเกี่ยวกับข้อมูล
- ครูต้นร่วมแนะนำ โปรแกรม และการสร้าง Application ต่างๆให้นักเรียนได้ร่วมเรียนรู้
- นักเรียนแต่ละกลุ่มร่วมศึกษา โปรแกรมและลงมือใช้งานเพื่อสร้างงานของตนเอง โดยมีครูต้นช่วยแนะนำ
- นักเรียนแต่ละกลุ่มนำเสนองานช่วงที่ 1 และอภิปรายร่วมกันเกี่ยวกับสิ่งที่ได้เรียนรู้ และวิเคราะห์ปัญหาที่เกิดขึ้นในช่วงการใช้งานโปรแกรม
- นักเรียนแต่ละกลุ่มดำเนินงานต่อและนำเสนองานช่วงที่ 2  และอภิปรายร่วมกันเกี่ยวกับสิ่งที่ได้เรียนรู้ และวิเคราะห์ปัญหาที่เกิดขึ้นในช่วงการทำงาน
- นักเรียนแต่ละกลุ่มนำเสนอข้อมูล 
- อภิปรายร่วมกันเกี่ยวกับสิ่งที่ได้เรียนรู้และถ่ายทอดในรูปแบบของ Flow Chart
- สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
ภาระงาน
วิเคราะห์ที่มาของตัวเลขหรือข้อมูล ที่ขึ้นอยู่บนหน้าจอมือถือในระบบ Android
- ออกแบบและนำเสนอ Application ของตนเอง
- สืบค้นข้อมูลและนำเสนอเกี่ยวกับการสร้าง Application
- สร้าง Application จากโปรแกรม
ชิ้นงาน
- Application ของตนเอง
- Flow Chart สรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้
- สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
ความรู้
-  ที่มาของข้อมูลบนมือถือและระบบการทำงานของ Application ต่างๆ ในระบบ Android

ทักษะ
ทักษะชีวิต
- การวางแผนในการทำงานกลุ่ม
- สามารถเรียนรู้และเชื่อมโยงเรื่องที่ศึกษากับชีวิตประจำวันของตนเองได้
ทักษะการอยู่ร่วมกัน
- นักเรียนแต่ละคน ได้ร่วมแสดงความคิดเห็น และรับฟังทัศนะคติของทุกๆคนอย่างมีเหตุผล
- กระบวนการเรียนรู้ร่วมกันเกี่ยวกับการสืบค้นข้อมูลเพื่อใช้ในการร่วมเรียนรู้กับผู้อื่น
ทักษะความคิดสร้างสรรค์
- การสร้าง Application ต่างๆ ในระบบ Android ของตนเองตามความต้องการ ภายใต้การทำงานของโปรแกรมต่างๆ
คุณลักษณะ
- การเคารพและยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
- สรุปสิ่งที่ตนเองได้เรียนรู้ได้อย่างสร้างสรรค์
-  มีวินัยและความรับผิดชอบต่อสิ่งที่ได้รับมอบหมาย
- มีความมุ่งมั่นในการทำงาน
Week
input
Process
Output
Outcome
9-10
โจทย์
- วารสารสำหรับตนเอง
- สรุปการเรียนรู้หลังเรียน
Key  Questions
- นักเรียนคิดว่าจะสามารถถ่ายทอดสิ่งที่ได้เรียนรู้เรื่องราวต่างๆให้น่าสนใจได้อย่างไร
เครื่องมือคิด
Show and Share
นำเสนอความคิดเห็นเกี่ยวกับรูปแบบการสรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้โดยใช้สื่อมัลติมีเดีย(โปรแกรม In Sign)

ผู้ร่วมสร้างการเรียนรู้
นักเรียน/ครู

สื่อและแหล่งเรียนรู้
- ห้องเรียน
- คลิปวีดีโอ  กบนอกกะลา ตอน  เส้นทางหนังสือพิมพ์
- โปรแกรม In Design
- วารสารข้อมูลเดิมของรุ่นพี่
 - ครูเปิดคลิปวีดีโอ กบนอกกะลา ตอน  เส้นทางหนังสือพิมพ์ให้นักเรียนดู
- อภิปรายร่วมกันเกี่ยวกับสิ่งที่ได้ดู
- ครูนำวารสาร ของพี่ๆรุ่นที่แล้วมาให้นักเรียนดู
- ครูและนักเรียนร่วมพูดคุยเกี่ยวกับการนำกระบวนการด้านโปรแกรม และเทคโนโลยีต่างๆ มาร่วมใช้ในการนำเสนองาน สรุปความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องที่กำลังศึกษา  ร่วมไปถึง เรื่องราวต่างๆที่นักเรียนมีความถนัด อาทิเช่น ประสบการณ์จากการไปทำกิจกรรมต่างๆ  ด้านงานอาสา งานดนตรี  ฯลฯ
- ออกแบบงานนำนำเสนอโดยใช้โปรแกรม In Design
- นำเสนอชิ้นงานของตนเอง
- ทบทวนความเข้าใจเกี่ยวกับการเรียนรู้ตลอด Quarter 4
- ตอบคำถามสิ่งที่อยากเรียนรู้
- สรุปการเรียนรู้ตลอด Quarter 4 ในรูปแบบ Mind Mapping และสรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
ภาระงาน
- การออกแบบการนำเสนองาน สรุปความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องที่กำลังศึกษาร่วมไปถึง เรื่องราวต่างๆที่สนใจ  ในโปรแกรม In design
- นำเสนอชิ้นงาน
- ร่วมตอบคำถามสิ่งที่อยากเรียนรู้
- สรุปความเข้าใจเกี่ยวกับการเรียนรู้ตลอด Quarter 4ในรูปแบบ Mind Mapping
ชิ้นงาน
- วารสารสรุปความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องที่กำลังศึกษา (วัฒนธรรมย่อย) ร่วมไปถึง เรื่องราวต่างๆที่มีความถนัด
- Mind Mappingสรุปการเรียนรู้ Quarter 4
- สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
ความรู้
การถ่ายทอดสิ่งที่ได้เรียนรู้ และข้อมูลความเข้าใจด้านต่างๆของตนเอง ผ่านสื่อ มัลติมีเดีย

ทักษะ
ทักษะชีวิต
- การวางแผนในการทำงานกลุ่ม
- สามารถเรียนรู้และเชื่อมโยงเรื่องที่ศึกษากับชีวิตประจำวันของตนเองได้
ทักษะการจัดการข้อมูล
 การคิดวิเคราะห์และจัดการข้อมูลเกี่ยวกับสิ่งที่ได้เรียนรู้ และข้อมูลความเข้าใจด้านต่างๆของตนเองได้อย่างเป็นสัดส่วนและเชื่อมโยงกัน
ทักษะการอยู่ร่วมกัน
- นักเรียนแต่ละคน ได้ร่วมแสดงความคิดเห็น และรับฟังทัศนะคติของทุกๆคนอย่างมีเหตุผล
- กระบวนการเรียนรู้ร่วมกันเกี่ยวกับการสืบค้นข้อมูลเพื่อใช้ในการร่วมเรียนรู้กับผู้อื่น
ทักษะความคิดสร้างสรรค์
- การออกแบบและนำเสนอข้อมูลของตนเอง ตามจินตนาการภายใต้การทำงานของสื่อมัลติมีเดียแขนงต่างๆ

คุณลักษณะ
- การเคารพและยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
- สรุปสิ่งที่ตนเองได้เรียนรู้ได้อย่างสร้างสรรค์
-  มีวินัยและความรับผิดชอบต่อสิ่งที่ได้รับมอบหมาย
- มีความมุ่งมั่นในการทำงาน

1 ความคิดเห็น:

  1. เยอะไปหน่อยนะคะMind mapบนสุดอ่ะค่ะ อ่านไม่ค่อยออกด้วย555

    ตอบลบ